เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Friday, March 8, 2013

สรุปข่าวทหารปี 2012


สรุปข่าวทหารปี 2012
โดย...monsoon


พบกันอีกครั้งนะครับท่านผู้อ่าน ฉบับนี้ผมใคร่ขอนำเสนอข่าวคราวทางทหารในรอบปีที่แล้วมาสรุปภาพรวมให้ทุกๆท่านรับทราบข้อมูลกัน ดังนี้

เริ่มกันที่กองทัพบก ในรอบปี ..2555 (2012) นี้ในแวดวงทหารบ้านเราก็ไม่ค่อยจะมีข่าวอะไรให้หวือหวานัก มีแต่การฝึกรบร่วมกับนานาชาติ เช่น  Cobra Gold, CARAT, SEAEX THAMAL, SingSiam(ทุกๆ 2ปี), Blue Strike(ทุกๆ 2ปี), Thalay Laut(ทุกๆ 2ปี), SEA GARUDA(ทุกๆ 2ปี) และการลงนามความร่วมมือทางทหารกับประเทศต่างๆ ที่ลงนามกันไปแล้วก็มี ประเทศพม่า ประเทศยูเครน ประเทศอินเดีย ประเทศเวียดนาม ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสหรัฐ(เป็นพันธมิตรกันมานมนาน เพิ่งจะเซ็นกัน)


แต่ในรอบปีที่ผ่านมา ข่าวที่น่าภาคภูมิใจคงไม่พ้นการนำเข้าประจำการ First Win ยานยนต์หุ้มเกราะทวิบท ของบ.ชัยเสรี ในกองทัพบก ถึงแม้จะมีจำนวนเพียงแค่ 3 คัน(ในขณะที่กระทรวงยุติธรรมสั่งถึง 18 คัน) แต่ก็นับว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมอาวุธของบ้านเรา
ทั้งนี้เพราะข้ออ้างของเหล่ากองทัพต่างๆของเราที่มักใช้กันในการกำหนดคุณสมบัติอาวุธยุโธปกรณ์คือต้องมีบรรจุประจำการในประเทศผู้ผลิตดังนั้นการที่กองทัพบกฉีกธรรมเนียมประเพณีนิยมเก่าๆ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใดก็ตาม นับเป็นโอกาสอันดีต่อรถ First Win ในอนาคต


ขอเล่าประวัติของยานยนต์หุ้มเกราะคันนี้กันหน่อย .ชัยเสรี เป็นบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่อุปกรณ์รถถังและรถทางทหารที่ส่งออกจำหน่ายทั่วโลกมีชื่อเสียงมานาน ในปี 2009 บริษัทได้เปิดเผยโครงการวิจัยพัฒนารถหุ้มเกราะทางทหารเพื่อใช้ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนำไปมอบให้กองทัพบกทดสอบใช้งานในภาคสนามเพื่อค้นหาจุดบกพร่องและนำมาปรับปรุงให้ตรงกับความประสงค์ของผู้ใช้งานจริงๆ ช่วงแรกๆ คนทั่วไปยังไม่รู้จักชื่อจึงเรียกกันว่ารถหุ้มเกราะชัยเสรี
รถหุ้มเกราะชัยเสรี เปิดตัวครั้งแรกในงาน Defense & Security 2009 ที่เมืองทองธานี โดยหลังจากนั้นก็ทำการปรับปรุงพัฒนารถคันนี้มาตลอด และรถรุ่นที่ปรับปรุงแล้วได้บินไปเปิดตัวต่อนานาชาติในงาน IDEX-2011 ที่ UAE และที่นี่ชื่อ First Win ก็เริ่มเป็นที่รู้จักมาจากงานนี้เอง
ตัวรถ First Win นี้ทำด้วยเหล็กกล้าทั้งคันบุด้วยแผ่นเกราะป้องกันกระสุนโดยรอบ(360องศา) ทั้งห้องโดยสารและห้องเครื่องยนต์ ตัวรถใช้เทคนิคการออกแบบโดยนำแผ่นเหล็กกล้ามาขึ้นรูปเป็นกระดอง(Monocogue) ตัวถังแบบนี้จะมีความแข็งแรงและสามารถรับแรงได้เป็นอย่างดี ปัจจุบันตัวถังแบบ Monocogue มีให้เห็นอยู่ทั่วไปทั้งในอากาศยาน รถยนต์ หรือแม้แต่รถถัง ในส่วนใต้ท้องรถสามารถป้องกันระเบิดได้ด้วยการออกแบบให้เป็นรูป V shape เชื่อมต่อกับตัวรถด้านบนมีระยะพันพื้นที่สูง ซึงการออกแบบในลักษณะนี้จะช่วยในการรับแรงกระแทกและกระจายของแรงระเบิดให้ออกไปด้านข้าง ซึ่งเป็นหลักการของการออกแบบรถเกราะที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

สำหรับเกราะที่หุ้มรอบคันก็เป็นเทคโลโนยี่ของไทยที่คิดค้นพัฒนาขึ้นเองเป็นเกราะผสมเซรามิคสามารถป้องกันกระสุนปืนได้ตั้งแต่ปืนพกไปจนถึงปืนไรเฟิลสังหาร



ส่วนอีกข่าวหนึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจอีกเช่นกัน นั่นคือเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2555 ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร(ศอว.ศอพท.) ได้ส่งมอบปืนใหญ่ขนาด 105 มม.แบบอัตตาจรล้อยางจำนวน 3 กระบอกให้กับศูนย์การทหารปืนใหญ่เพื่อทดลองใช้ในทางยุทธวิธี

ปืนใหญ่ 105 มม.อัตตาจรล้อยางนี้ก็เป็นผลงานที่ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธฯ ใช้เวลาเกือบสิบปีในการวิจัยพัฒนา (เริ่มต้นพัฒนาราวปี 2546) โดยตัวปืนใหญ่ 105 มม.ก็คือปืนใหญ่แบบ M425 ที่ไทยเป็นผู้ผลิตสร้างขึ้นเองเมื่อปี 2525

นอกจากนี้ศอว.ยังอยู่ในระหว่างพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.แบบอัตตาจรล้อยางอีกด้วย โดยติดตั้งปืนใหญ่หนักกระสุนวิถีราบแบบ 20 (ปนร.๒๐) ซึ่งก็คือปืนใหญ่ Soltam M-71 ที่ผลิตโดยประเทศอิสราเอล ทั้งนี้ได้สร้างต้นแบบขึ้นมาแล้ว 2 กระบอก และได้ทำการยิงทดสอบต้นแบบคันที่ 2 ครั้งที่ 4 ไปเมื่อวันที่ 13 ..2555

สำหรับข่าวสุดท้ายก็เกี่ยวกับรถถังแบบใหม่ที่ประเทศไทยสั่งซื้อจากประเทศยูเครน งวดแรกจำนวน 49 คันเพื่อนำไปใช้ทดแทนรถถัง M41-A3 ที่มีใช้ประจำการอยู่ถึง 200 คันและรับใช้ชาติมานานกว่า 50 ปี
รถถังที่สั่งซื้อมาใหม่นั้นคือรถถัง BM Oplot (แต่กองทัพบกให้ข่าวว่า รถถัง T-84 Oplot) เป็นรถถังที่พัฒนารุ่นใหม่ล่าสุดของประเทศยูเครน ติดตั้งปืนใหญ่ลำกล้องเรียบขนาด 125มม. ติดตั้งระบบโหลดกระสุนอัตโนมัติ สามารถติดเกราะ ERA และมีระบบป้องกันตัวแบบ APS

กองทัพบกไทยได้สั่งซื้อรถถัง T-84 Oplot นี้เมื่อเดือนกันยายน 2009 โดยผบ.ทบ.ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนไทยว่ารถถัง Oplot จะมาถึงในเดือนพฤษภาคม 2556
รถถัง Oplot นี้ก็เป็นรถถังที่มีข้อมูลออกมาน้อยมาก เพราะยังไม่มีการผลิตออกมาอย่างจริงๆ จังๆ เนื่องจากโรงงานของยูเครนประสบปัญหาเรื่องการเงิน จนถึงขั้นขอให้ศาลคุมครองการล้มละลาย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2012
ตัวรถถังที่ออกโชว์ตัว(คันในภาพ) ก็มีอยู่แค่คันเดียว แต่เปลี่ยนสีที่พ่น ไปเรื่อยๆ ส่วนรถถังที่จะส่งมอบให้กับกองทัพไทยนั้น หน้าตาก็จะแตกต่างไปจากรถถังในภาพนี้เล็กน้อย เนื่องจากรถถังคันเดียวที่ยูเครนผลิตออกมาใช้โชว์ตัวอยู่นี้มีรหัสว่า 478DU9-1 แต่รถถัง Oplot M ที่ไทยสั่งซื้อนั้นมีรหัสรุ่นว่า 478DU10 อีกทั้งกองทัพบกได้ขอแก้ไขในรายละเอียดของ 478DU10 อีกจำนวน 40 รายการ
เดิมผมจะเขียนประวัติและรายละเอียดของรถถัง Oplot นี้ลงในบทความเรื่องรถถัง..อัศวินแห่งสนามรบซึ่งจะอยู่ในตอนที่ 4 แต่ด้วยพื้นที่ของ TGN มีจำกัด บทความจึงต้องระงับไปหลังจากเสนอไปได้แค่ตอนที่ 2 เอาไว้ผมอัพโหลดบทความเกี่ยวกับรถถัง Oplot คันนี้ขึ้นเว็บบล็อกส่วนตัวของผมแล้วจะมาแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ตามไปอ่านรายละเอียดกัน ทั้งนี้เพราะรถถัง T-84 Oplot กับ T-84 Oplot M ( BM Oplot) นั้นเป็นคนละรุ่นกัน ผมจึงไม่เข้าใจว่าทำไมกองทัพบกถึงเสนอข่าวเป็นรถถัง T-84 Oplot

ส่วนด้านกองทัพเรือนั้น ในรอบปีที่ผ่านมาก็มีข่าวที่น่าสนใจ 2-3 เรื่อง เรื่องแรกเลยก็คือข่าวความคืบหน้าในโครงการพัฒนาเฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับของกองทัพเรือ (DNK-150) ที่กองทัพเรือร่วมมือกับบริษัทเอกชนค้นคว้าและพัฒนาเพื่อนำไปผลิตใช้งานของกองทัพ ตอนนี้มีหน่วยงานหลายหน่วยงานได้เข้ามาร่วมพัฒนา และได้ใช้รหัสใหม่เป็น DTI-RTN-KSM150 (DTI = สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ / RTN = กองทัพเรือ / KSM = .กษมาเฮลิคอปเตอร์)
เพื่อส่งมอบให้กับกองทัพเรือจำนวน 10 ระบบ รวม 30 ลำ ใช้งบประมาณราว 350 ล้านบาท คาดว่าน่าจะผลิตพร้อมเข้าประจำการได้ภายในปลายปี 2556

UAV ลำนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางใบพัดหลัก 2.2 เมตร ความยาวลำตัว 1.7 เมตร กำลังเครื่องยนต์ 15 แรงม้า ความจุถังเชื้อเพลิง 16 ลิตร น้ำหนักตัวเปล่า น้อยกว่า 20 กิโลกรัม น้ำหนักบรรทุกน้อยกว่า 20 กิโลกรัม ความเร็วเดินทาง 70 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วสูงสุด 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพดานบินสูงสุด มากกว่า 600 เมตร รัศมีปฏิบัติการมากกว่า 50 กิโลเมตร เวลาบิน น้อยกว่า 3 ชั่วโมง และสามารถติดตั้งกล้องตรวจการณ์ในเวลากลางวันและกลางคืนได้ 1 ระบบ


เรื่องที่สองคือนงานวิจัยโครงการในการสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเลขนาด 2-4 ที่นั่ง โดย พล... สมหมาย ปราการสมุทร ผู้อำนวยการโครงการวิจัยยานพาหนะทางทะเล ซึ่งก้าวหน้าถึงขนาดผลิตเครื่องบินต้นแบบไปแล้วมากกว่า 3 ลำ

ความสำเร็จในการพัฒนาเป็นอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบกที่มีขีดความสามารถพิเศษในการปฏิบัติการบนพื้นน้ำ เพื่อลดปัญหาด้านความต้องการยุทโธปกณ์ต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจกองทัพที่ยังขาดแคลนงบประมาณ

ทั้งนี้ "เครื่องบินทะเล" ถูกนำมาใช้งานราชการทหารและด้านความมั่นคงในหลายด้าน อาทิ การบินตรวจการณ์ชายฝั่ง การบินลาดตระเวนหาข่าว และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล เป็นต้น รวมถึงนำไปใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้อีกมากมาย อีกทั้งอุตสาหกรรมการบินขนาดเล็กกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นตามลำดับ สกว.จึงให้การสนับสนุนการพัฒนาเครื่องบินดังกล่าว โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้และคุ้มค่า เพื่อกำหนดทิศทางวิจัยเครื่องบินและเป็นจุดเริ่มต้นของการพึ่งพาตนเองในประเทศ

หลังจากสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเลตามหลักวิศวรรมอากาศยาน ด้วยลักษณะของโครงสร้างอากาศยานเป็นวัสดุคอมโพสิต และสามารถนำไปปฏิบัติการบินได้ด้วยความปลอดภัยพร้อมกับมีคู่มือประกอบการใช้งาน คณะวิจัยได้ทำการทดสอบคุณสมบัติในรายละเอียดของชิ้นส่วนต่างๆ และโครงสร้างอากาศยาน รวมถึงทดสอบประสิทธิภาพการบินให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการจัดทำเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยการใช้งานของเครื่องบิน และพร้อมที่จะถ่ายทอดในขั้นของการขยายผลสู่การบริโภคและการสร้างอุตสาหกรรมการบิน

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยระบุว่า โครงการนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 5 เท่าในการปฏิบัติการเดียวกัน เมื่อเทียบกับอากาศยานที่ใช้ในกองทัพเรือ โดยมีต้นทุนการบินต่อชั่วโมงของเครื่องบินทะเลประมาณ 3,000 บาทต่อชั่วโมง ขณะที่ต้นทุนการบินของอากาศยานอื่นอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท สามารถทำการขึ้นลงได้ทั้งบนบกและในน้ำ ปฏิบัติการบินได้ในพื้นที่ที่ไม่มีสนามบินรองรับและอยู่ในอากาศนานกว่า 2.5 ชั่วโมง มีรัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 100 ไมล์ทะเล สามารถจอดในพื้นที่ที่มีน้ำไม่ต่ำกว่า 38 เซนติเมตร คลื่นสูง 2-3 ฟุต

สำหรับต้นทุนเครื่องบินในการวิจัยครั้งนี้อยู่ที่ 5.9 ล้านบาท แต่ทีมวิจัยระบุว่า หากผลิตในเชิงพาณิชย์จะลดต้นทุนการผลิตลงได้อีก จึงขอรับการสนับสนุนการวิจัยต่อเพื่อขยายผลโครงการในเชิงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะใช้ทุนวิจัยรวมทั้งสิ้นประมาณ 24 ล้านบาท ในการผลิตเครื่องบินทะเลจำนวน 2 ลำที่มีสมรรถนะสูง สามารถบินได้ในทุกสภาวะอากาศแม้มีฝนฟ้าคะนองรุนแรง เวลากลางคืน และการเดินทางไกล

งานวิจัยดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและชุดโครงการอุตสาหกรรมเพื่อความมั่นคงของประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บริษัท มาทคอม ไฟเบอร์ จำกัด

เรื่องสุดท้ายคือรัฐบาลอนุมัติงบประมาณ 30,000 ล้านบาทให้กองทัพเรือสำหรับจัดหาเรือฟริเกตขนาดกลางจำนวน 2 ลำ
เรื่องนี้มันมีปมชวนพิศวงอยู่ กล่าวคือเดิมกองทัพเรือได้ยื่นขออนุมัติงบประมาณจำนวน 7,700 ล้านบาทเพื่อจัดซื้อเรือดำน้ำมือสอง U206A จากเยอรมัน จำนวน 6 ลำพร้อมทั้งอะไหล่และอาวุธ แต่รัฐบาลไม่อนุมัติ กลับให้งบสำหรับจัดหาเรือฟริเกตมาแทน

ผมล่ะเป็นห่วงหนี้สาธารณะที่พุ่งเป็นจรวด เพราะเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว(2555) หนี้สาธารณะเกือบ 3 ล้านล้านบาท แต่พอสิ้นปี 2555 หนี้สาธารณะปาเข้าไปเกือบ 5 ล้านล้านบาท แถมปีนี้(2556) จะมีโครงการรถไฟความเร็วสูงกันอีก แล้วหนี้จะเพิ่มกันอีกเป็นเท่าไร ผมว่ามันสวนทางกับทฤษฎีเศรษฐกิจแบบพอเพียงอย่างชัดเจน

ด้านกองทัพอากาศนั้นรอบปีที่ผ่านมา มีข่าวเด่นก็เห็นจะเป็นการครบรอบ 100 ปีการบินของไทย ใช้ชื่องานว่า วันครบรอบ 100 ปี การบินของบุพการีทหารอากาศ คนไทยจะเชื่อกันไหมว่าในอดีตชาติไทยของเรายิ่งใหญ่ขนาดไหน

ในงานนี้มีการแสดงการบินโดยฝูงบินผลาดแผลงฝูงใหม่ของไทยด้วย นั่นคือBlue Phoenix” (สำหรับฝูงบินผลาดแผลงในอดีตของไทยคือฝูงบินแสนเมือง)

นอกจากนี้ในงานนี้ยังมีการนำเครื่องบินที่ประเทศไทยเราสร้างขึ้นเองโดยกองทัพอากาศ ขึ้นบินเฉลิมฉลองในงานด้วย นั่นคือ เครื่องบิน .ทอ.6

ประวัติความเป็นมาคือ ในวันที่ 5 .. 2550 พล...ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีประจำการ .ชอ.2 ซึ่งกองทัพอากาศพัฒนาขึ้นเอง โดยใช้เครื่องบินฝึกแบบที่ 15 (SF-260) ซึ่งปัจจุบันประจำการในประเทศฟิลิปปินส์ และฟิลิปปินส์เพิ่งสั่งซื้อเพิ่มเติม 18 ลำในปี .. 2550 เป็นต้นแบบ แต่ได้แก้ไขแบบจากเดิม 3 ที่นั่งให้เป็น 4 ที่นั่ง โดยจะใช้เป็นต้นแบบในการทดลอง และศึกษาข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นเครื่องบิน .ทอ.6 เพื่อเข้าประจำการและมีแผนผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านในอนาคตด้วย

ก็คงจบสรุปข่าวทหารในรอบปี 2012 ไว้แต่เพียงเท่านี้ พบกันใหม่เมื่อชาติต้องการ ...สวัสดี...

No comments:

Post a Comment