เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Sunday, December 15, 2013

Barak ระบบจรวดป้องกันตัวระยะประชิด

บทความครั้งก่อนหน้านี้เป็นบทความเกี่ยวกับเรื่อง CIWS ระบบป้องกันตัวระยะประชิด ก็ย้อนกลับไปหาอ่านกันได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2013/12/ciws.html
Barak I
สำหรับวันนี้ก็เป็นเรื่องต่อเนื่องจากคราวที่แล้ว เป็นเรื่องของระบบป้องกันตัวระยะประชิดแบบจรวด ซึ่งได้กล่าวถึงไว้ในช่วงท้ายๆ ของบทความครั้งก่อน มาลองอ่านเรื่องราวกันดู

จรวด Barak I ของประเทศอิสราเอล ได้ถูกออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการนำมาใช้ทดแทนระบบป้องกันระยะประชิดอย่าง Phalanx ด้วยความอ่อนตัวกว่าและระยะป้องกันที่ไกลกว่า มันสามารถต่อต้านอากาศยาน จรวดต่อต้านเรือผิวน้ำ และยานไร้คนขับ (UAV)

Barak I คือจรวดความเร็วเหนือเสียง เป็นระบบป้องกันทางอากาศระยะสั้นที่ปล่อยจรวดในแนวตั้ง(Vertically-launched) ที่มีช่วงปฏิบัติการประมาณ 10 กม.หรือราว 6 ไมล์ จึงทำให้ระบบนี้จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับระบบ
  • Simbad หรือ Sadral ของ Mistral
  • Bofors RBS-70 ของ Saab ประเทศสวีเดน
จรวด VT1 ปล่อยจากแท่น Crotale NG
และถึงแม้ระยะปฏิบัติการของ Barak จะน้อยกว่าของจรวดที่ปล่อยในแนวตั้งอื่นเช่นเดียวกันอย่าง RIM-162 Evolved Sea Sparrow
แต่มันก็มีระยะใกล้เคียงกับคู่แข่งตัวอื่นๆ ในตลาด เช่น RIM-116 ที่ปล่อยจรวดในแนวนอน (Horizontally-fired) และ Crotale VT-1/NG ของฝรั่งเศส
แต่ด้วยคุณลักษณะที่สำคัญคือ ท่อยิงแนวตั้งจำนวน 8 ท่อที่มีขนาดกระทัดรัดและมีน้ำหนักเพียง 1,700 กิโลกรัม บวกกับ 1,300 กิโลกรัมของระบบควบคุมการยิง จึงทำให้ Barak I ง่ายต่อการติดตั้งบนเรือขนาดเล็ก หรือติดเพิ่มเติมให้กับเรือที่มีอยู่ในประจำการ

SA-N7
ประเทศอินเดียได้ซื้อ Barak I มูลค่ามากกว่า 300 ล้านเหรียญ เพื่อนำไปทดแทนระบบจรวดที่พัฒนาภายในประเทศ “ตรีศูล” ที่ล่าช้า อินเดียได้ติดตั้ง Barak I บนเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรก INS Viraat และเรือฟริเกตจรวดนำวิถีขนาด 3,850 ตันชั้น Godavari (Project 16) และชั้น Brahmaputra (Project 16A) รวมทั้งติดตั้งบนเรือพิฆาตขนาดระวาง 4,974 ตันชั้น Rajput อีกทั้งอยู่ในโครงการที่จะนำไปติดตั้งเพื่ออัพเกรดเรือพิฆาตขนาดระวาง 6,200 ตันชั้น Delhi แทนระบบรัสเซีย SA-N-7C ‘Gollum’ (รุ่นส่งออกของ 3S90 "Shtil")


และเพื่อเป็นการให้ได้ประโยชน์ในการพัฒนาจรวดดังเช่นที่อินเดียเคยทำมาแล้วกับรัสเซียในโครงการจรวด BrahMos ในปี 2006 อินเดียจึงลงนามในข้อตกลงร่วมมือกันกับอิสราเอลในการพัฒนาโครงการ Barak-NG/LR-SAM หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Barak II อันมีมูลค่าราว 350ล้านดอลล่าร์ โดยตั้งเป้าว่าจะให้จรวดไปได้ไกลจนถึงที่สุด และตั้งใจจะทำให้มันเป็นจรวดแบบมาตรฐานของกองทัพเรืออินเดีย ภายหลังโครงการนี้ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น Barak 8 ซึ่งอินเดียมีข้อตกลงกับอิสราเอลในการถ่ายทอดเทคโนโลยี่และสายการผลิต อันจะทำให้อินเดียสามารถสร้างและต่อยอดผลิตภัณฑ์ต่อไปได้
อิสราเอลประสบความสำเร็จในการทดสอบจรวด Barak 8 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2009
คุณลักษณะของจรวด Barak 8
  • ความยาว 4.5 เมตร
  • เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.54 เมตร
  • ปีกกว้าง 0.94 เมตร
  • น้ำหนัก 275 ..(รวมหัวรบ 60 ..)
  • ความเร็วสูงสุด 2 มัค
  • ระยะปฏิบัติการ 70 ..
  • dual-pulse solid rocket motor
  • Active Seeker

จากระยะปฏิบัติการที่เพิ่มขึ้นทำให้ Barak 8 มีระยะทำการใกล้เคียงกับจรวด RIM-162 Evolved Sea Sparrow หรือแม้แต่จรวด SM-2 Standard ของสหรัฐฯ
SM-2 Standard ของสหรัฐ
สำหรับประโยชน์ของเชื้อเพลิงแข็งแบบคู่นั้น เชื้อเพลิงอันที่สองจะถูกจุดให้ทำงานเมื่อจรวดใกล้ถึงเป้าหมาย ทำให้จรวดไม่อ่อนแรงในระยะสุดท้าย และเพิ่มโอกาสในการจัดการเป้าหมายที่มีความรวดเร็วและคล่องแคล่วว่องไว

และสิ่งที่ทำให้ Barak 8 เหนือกว่า SM-2 โดยไปใกล้เคียงกับระบบ SM-6 นั่นก็คือ “active seeker” เพราะทำให้เรด้าห์ของเรือไม่ต้องทำการชี้เป้าตลอดเวลา สามารถเปิดๆ ปิดๆ ทั้งนี้เพื่อก่อกวนระบบจรวดต่อต้านเรด้าห์ (ARMs) ของข้าศึกที่อาจโจมตีเข้ามา
อินเดียได้สั่งซื้อและนำจรวด Barak 8 นี้ติดตั้งลงบนเรือพิฆาตติดอาวุธนำวิถีขนาดระวาง 6,800 ตันชั้น Kolkata (Project 15A)
Barak 8
แต่ปัญหาของอินเดียในขณะนี้ก็คือ อินเดียเพิ่งจะพบว่า ตนเองไม่มีวิศวกรในระบบราชการของรัฐบาลเพียงพอที่จะนำข้อมูลทางเทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดจากอิสราเอลส่งต่อให้กับโรงงานภายในประเทศได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง นอกจากนี้บางบริษัทที่ทำการผลิตจรวด Barak 8 นั้นก็ได้บิดเบือนหรืออาจไม่รู้ถึงขีดความสามารถของตน ว่าไม่มีบุคลากรหรืออุปกรณ์ในการจัดการการผลิตส่วนประกอบของจรวด Barak 8

ซึ่งถ้าหากอินเดียสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งหมดได้แล้ว จรวด Barak 8 ที่ผลิตในประเทศอินเดีย ก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เนื่องด้วยไทยได้มีข้อตกลงร่วมมือกับประเทศอินเดียอยู่ด้วย ก็น่าจะเป็นประโยชน์กับประเทศไทยในการพัฒนาจรวดของเราในอนาคต



No comments:

Post a Comment