เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Monday, June 2, 2014

ยานเกราะสายพานลำเลียงพล บ.ชัยเสรี

เรื่องราวสำหรับวันนี้เป็นเรื่องที่สืบเนื่องมาจากแผนงานการวิจัยและพัฒนาการทางทหารของกองทัพบก เห็นว่าน่าสนใจดี ก็เลยนำมาเสนอกัน แผนงานการวิจัยและพัฒนาว่านั้นก็คือ โครงการวิจัยและพัฒนายานยนต์หุ้มเกราะแบบสายพาน มีระยะเวลา 3 ปี(..2557-2559) งบประมาณ 20 ล้านบาท หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักคือ กรมสรรพาวุธ(สพ.ทบ) ร่วมกับ บ.ชัยเสรี หน่วยงานรับผิดชอบรองคือ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร(สวพ.ทบ.)

ลองไปขุดค้นหาข้อมูลมา ได้ความว่ายานเกราะสายพานลำเลียงของบ.ชัยเสรีนั้น ได้นำแบบรถจากอเมริกาหน้าตาก็จะเป็นประมาณแบบ M113A3/BMP-2 
อันที่จริงหน้าตาคล้ายๆกันแบบนี้ก็มีอีกรุ่นหนึ่งนั้นคือ M113A4
M113A4
แต่อย่างไรก็ตามทางบ.ชัยเสรีจะนำแบบมาปรับปรุงใหม่ และจะเปลี่ยนเป็นติดระบบอาวุธป้อมปืน KBA-105 Shkval แบบที่ติดตั้งบนยานเกราะล้อยยาง BTR 3E1เพราะกองทัพบกพึงพอใจในอำนาจการยิงของมัน
KBA-105 Shkval
ส่วนเรื่องหน้าตาหลังการปรับแบบจะเป็นอย่างไรนั้น เห็นว่าจะมีการนำผู้ที่จะเป็นผู้ใช้เข้ามาร่วมในขั้นตอนการออกแบบด้วย เพื่อให้ทุกฝ่ายเห็นชอบร่วามกัน ก่อนลงมือทำต้นแบบ สิ่งที่ได้ออกมาก็คือรถที่มีคุณสมบัติ ตามความต้องการของผู้ใช้ซึ่งก็คือกองทัพบกนั้นเอง

โดยพื้นฐานแล้ว บ.ชัยเสรีมีประสบการณ์ในการซ่อมคืนสภาพรถสายพานลำเลียงพลแบบ M113 และมีประสบการณ์ในการปรับปรุงอัพเกรดเป็นรุ่น M113A2 ดังนั้นด้วยขีดความสามารถและประสบการณ์ที่มีมา การปรับแบบM113 ให้เป็นตามความต้องการของกองทัพบกจึงไม่น่าจะเกินความสามารถ
M113 อัพเกรดเป็น M113A2 โดยบ.ชัยเสรี

สำหรับการออกแบบ คาดว่าหน้าตาไม่น่าจะหลุดจากรูปลักษณ์ของรถสายพานหุ้มเกราะในปัจจุบัน ซึ่งก็น่าจะมีรูปลักษณ์ประมาณรถสายพานของสิงคโปร์ Bionix


ลองวาดฝันกันดูว่ารูปร่างหน้าตา ยานเกราะสายพานชัยเสรีจะออกมาเป็นอย่างไร จะใกล้เคียงกับรูปแบบปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน โดยยานเกราะสายพานรุ่นอื่นๆ ที่ใกล้เคียงกับยานเกราะ M113 ก็มีหลายคัน เช่น


AMX-10P ของฝรั่งเศส
AMX-10P
FNSS ACV-15 ของตุรกี

FNSS ACV-15
FV432 ของอังกฤษ

FV432
MT-LB ของรัสเซ๊ย
MT-LB
Pansarbandvagn 302
Pansarbandvagn 302
นอกจากนี้ยังมียานเกราะสายพานในปัจจุบันที่ใหญ่กว่า M113 ด้วย คือ
ASCOD ของสเปนและออสเตรีย

FV501 Warrior ของอังกฤษ

FV501 Warrior
Marder ของเยอรมัน

Marder
K21 ของเกาหลีใต้

K21
ZBD-04 ของจีน
ZBD-04
จะเห็นว่ายานเกราะสายพานเกือบทุกแบบด้านบนตอนหน้ารถจะถูกออกแบบให้ลาดเอียง อันนี้คือจุดเด่นของยานเกราะสายพานยุคนี้ เรามาคอยติดตามข่าวกันต่อไปว่า ยานเกราะสายพานต้นแบบการวิจัยของบ.ชัยเสรี จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร


ทั้งนี้ก็เพราะระบบอาวุธป้อมปืน KBA-105 Shkval น่าจะมีปัญหาเนื่องจากสถานการณ์ภายในของประเทศยูเครน


7 comments:

  1. เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบ.ชัยเสรี ยานเกราะล้อยาง 8x8 Tiger I (one)

    ในปี 2550 บ.ชัยเสรีได้นำเสนอแบบรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 ให้กับ กองทัพบก ซึ่งในขณะนั้น (ปี2550) บริษัท ไม่มีทีมออกแบบ จึงได้เจรจากับนักออกแบบ ซึ่งมีประสบการรณ์ในการออกแบบรถให้กับผู้ผลิตหลายประเทศ เพื่อทำการซื้อแบบมาทำการผลิตในประเทศ จนถึงปัจจุบันรถ Tiger ยังไม่มีการผลิต เนื่องจากการลงทุนในปี 2550 มูลค่าการลงทุนประมาณ 50 ล้านบาท

    ขีดความสามารถของบริษัท สามารถผลิต รถเกราะนั้น สามารถผลิตได้ทั้งรถล้อ และ สายพาน โดยที่บริษัท สามารถผลิตตามแบบของลูกค้า หรือ ตามแบบของบริษัท ทั้งนี้ First Win เป็นผลงานในการออกแบบของบริษัทเอง

    ปัจจุบันบ.ชัยเสรี ได้ยกเลิกโครงการรถเกราะล้อยาง 8*8 Tiger I แล้ว เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน เนื่องจาก DTI ได้สร้างรถเกราะล้อยาง 8x8 Black Widow Spider -โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศและบริษัทปรีชาถาวรอุตสาหกรรมขึ้นมา

    ReplyDelete
  2. ขอขอบคุณข้อมูลครับ

    ReplyDelete
  3. รอดูึวามคืบหน้า รถยานเกราะล้อยาง 8X8 Black Windowv Spider
    ในงานแสดงอาวุธทีี เมืองทองธานี พย 2558!

    ReplyDelete
    Replies
    1. เห็นข่าวผ่านตาที่ไหนไม่แน่ใจ อาจจะเป็นในเฟสบุ้ค ว่ายาน BWS จะเผยโฉมกันในปีนี้
      นี่ก็เข้าช่วงปลายปีแล้ว ยังไม่เห็นเลย รอชมอยู่เหมือนกัน

      โพสนี้บทความล่าสุดเกี่ยวกับยาน BWS http://monsoonphotonews.blogspot.com/2015/07/bws.html

      Delete
  4. อยากเห็นรถลำเลียงสายพานไชยเสรีจัง

    ReplyDelete
    Replies
    1. ยานล้อ BWS ยังต้องทดสอบพัฒนากันอีกยาว
      ยานสายพานชัยเสรี คงหลัง BWS ไปอีกล่ะครับ

      Delete
  5. อยากให้มีการแข่งขัน ผลิตรถต้นแบบทั้ง 2 บริษัท เสนอกองทัพจะดีที่สุด แล้วให้กองทัพนำไปทดสอบ เพื่อพิจารณาสั่งผลิตใจจำนวนที่ต้องการ เพื่อสนองหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการ แต่กองทัพต้องตั้งวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เป็นหลัก ๆ ก่อนเพื่อให้บริษัทฯไปดำเนินการให้ได้ตามวัตถุประสงค์ ของกองทัพ

    ReplyDelete