เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Wednesday, August 26, 2015

โครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.

วันนี้มานำเสนอเรื่องราวต่อเนื่องจากโครงการวิจัยและพัฒนาปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม.แบบอัตตาจรล้อยาง ท่านสามารถย้อนกลับไปอ่านกันได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2015/02/155-atmos.html
ATMOS 2000
ก็คงจะต้องขอเล่าย้อนเท้าความตั้งแต่ต้นแบบเป็นช่วงๆ เพื่อให้เห็นภาพกันดังนี้

ช่วงแรก พ.ศ.2553 - พ.ศ.2555
เริ่มต้นจากปี พ.ศ.2553 ได้มีข่าวคราวของการวิจัยและพัฒนาปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม.แบบอัตตาจรล้อยาง ออกมาให้เห็นกัน และก็มีภาพของรถฯคันต้นแบบ คันแรก ที่เป็นรถหกล้อ

หลังจากนั้นก็มีรถฯต้นแบบคันที่สอง ที่แตกต่างจากรถต้นแบบคันที่หนึ่ง คือเป็นรถสิบล้อ
นอกจากนี้ก็มียังข่าวจาก  ศอว.ศอพท. ที่เสนอเกี่ยวกับการทดสอบยิง ดังปรากฏในภาพ

โดยข่าวเกี่ยวกับปืนใหญ่ฯ 155 มม.แบบอัตตาจรล้อยางมีให้เห็นกันอย่างเป็นทางการครั้งสุดท้าย คือวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555  และหลังจากนั้นก็เป็นแค่เพียงข่าวการโชว์ตัวให้คณะต่างๆ ที่มาเยี่ยมศูนย์ฯ ได้ชม
วันที่ 22 มิ.ย. ก็เป็นครั้งที่ 4 เหมือนกัน ดังนั้นข้อมูลอาจคลาดเคลื่อน

ช่วงสอง พ.ศ.2555- พ.ศ.2557
ทั้งนี้ ศอว.ศอพท.เสนอข่าวเกี่ยวกับปืนใหญ่ฯ 155 มม.แบบอัตตาจรล้อยางครั้งสุดท้ายคือวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555  จากจุดนี้เองในเดือนกันยายน 2555 ก็มีโครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.แบบลากจูงให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง (Autonomous Truck Mounted Gun – ATMG) เกิดขึ้นมา รับช่วงต่อไป
โครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.แบบลากจูงให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง
(Autonomous Truck Mounted Gun – ATMG)
จีงน่าจะเป็นการต่อยอดแบบก้าวกระโดด โดยไทยเราได้ว่าจ้างอิสราเอลพัฒนา ATMOS 2000 ให้กับกองทัพ ตามข่าวที่ปรากฎในไปทั่วในอินเตอร์เน็ท
เว็บไชด์ janes ได้ออกข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ว่าเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างอิสราเอลและไทยที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2555
โครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม. แบบลากจูงให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง (Autonomous Truck Mounted Gun – ATMG) นี้มีระยะเวลาโครงการ 3 ปี จาก พ.ศ.2555 – พ.ศ.2557 โครงการปรับปรุงฯ นี้จะสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2558 ซึ่งก็คือเดือนหน้าที่จะถึง

ช่วงสาม พ.ศ.2558 - พ.ศ.2560
ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา บ.Elbit Systems ประกาศว่า ได้รับสัญญาการว่าจ้างระยะ 3 ปีซึ่งเป็นสัญญาต่อเนื่องที่มีมูลค่าราว 27 ล้านเหรียญ ในการสนับสนุนการผลิตระบบปืนใหญ่ ATMOS รวมทั้งระบบควบคุมสั่งการให้กับประเทศในแถบเอเซีย-แปซิฟิค ซึ่งแม้จะไม่ระบุว่าเป็นประเทศใด แต่สื่อมวลชนทั่วโลกต่างก็คาดเดากันว่าเป็นประเทศไทย
คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย
ซึ่งมันก็ไปสอดคล้องกับงบประมาณการจัดหาฯ ของ ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร (ศอว. ศอพท.)
เมื่อเทียบมูลค่าของสัญญาฯ(ไม่ถึง 27 ล้านเหรียญ) กับอัตราแลกเปลี่ยนในเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ก็ได้มูลค่าคิดเป็นเงินไทยที่ใกล้เคียงงบฯ 856,334,000 บาท
คิดจากเงิน 27 ล้านเหรียญฯ
สำหรับจำนวนการจัดหาครั้งนี้ น่าจะเป็นจำนวน 12 ระบบ เพราะปืนใหญ๋หนึ่งกองพันมีจำนวน 18 กระบอก ช่วงสองจัดหามาแล้ว 6 ระบบ(สร้างในอิสราเอล 1 ระบบ สร้างในไทยอีก 5 ระบบ) ดังนั้นหากจะให้ครบจำนวน 1 กองพัน ก็คือยังขาดอยู่อีก 12 ระบบ นำจะจำนวนที่จัดหาไปเฉลี่ยกับมูลค่าของสัญญาฯ ก็จะตกอยู่ราวระบบละ 2 ล้านเหรียญเศษ ทั้งนี้หากจัดหามา 12 ระบบจริง ราคา 2 ล้านเศษนี้ก็จะถูกกว่าปืนซีซ่าร์ของฝรั่งเศสแบบครึ่งต่อครึ่งเลยทีเดียว


ทิ้งท้ายกันอีกนิดสำหรับแนวคิดที่ว่า
โครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.แบบลากจูงให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง (Autonomous Truck Mounted Gun – ATMG) นี้ ไม่เกี่ยวกับโครงการวิจัยและพัฒนาปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีโค้ง ขนาด 155 มม.แบบอัตตาจรล้อยาง
ถ้าหากมองกันที่ตัวโครงการ แค่ชื่อมันก็เป็นคนละโครงการกันแล้ว ปืนก็ไม่ใช่กระบอกเดียวกัน เพราะความยาวลำกล้องมันต่างกัน 39 กับ 52 คาลิเบอร์ แต่ในภาพรวมก็ต้องยอมรับมันว่าคือโครงการในเส้นทางสายเดียวกันที่มีการพัฒนาต่อเนื่องรับช่วงกันไป
สรุปง่ายๆ ก็คือ โครงการวิจัยและพัฒนาปืนใหญ่ฯ 155 มม.แบบอัตตาจรล้อยางในอดีต ได้กลายมาเป็นโครงปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ฯ ในปัจจุบัน

ทั้งนี้เพราะเมื่อโครงการวิจัยและพัฒนาฯ สิ้นสุดลง และการนำเข้าสายผลิต โครงการนั้นก็จะเปลี่ยนชื่อโครงการไป ยกตัวอย่างเป็นรูปธรรม ได้ดังนี้

ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่าคำว่า "ให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง" ดังนั้นจึงสามารถนำไปเทียบเคียงกับโครงการฯปืน 155 มม.ได้เช่นเดียวกัน ดังนี้ "โครงการปรับปรุงพัฒนาปืนใหญ่ขนาด 155 มม.แบบลากจูงให้เป็นแบบอัตตาจรล้อยาง" ทั้งนี้เพราะโครงการวิจัยฯ ปืน 155 มม.อัตตาจรล้อยางได้สิ้นสุดลงแล้ว ตามภาพข้างล่างนี้

สำหรับการใช้คำว่า "ปรับปรุง" โดยมิได้ใช้คำว่า "ผลิต" อย่างเช่นปืน 105 มม.อัตตาจรล้อยาง นั้น อาจเป็นเพราะปืนใหญ่ 155 มม. M-71 Soltam ผลิตและสร้างโดยประเทศอิสราเอล แต่ปืนใหญ่ 105 มม. M-425 ไทยเป็นผู้ผลิตและสร้างเอง

อย่างไรก็ดี ที่แน่ๆ คือ ปืนใหญ๋ 155 มม.อัตตาจรล้อยางที่จะได้เห็นในอนาคตของกองทัพไทย จะติดตั้งปืน M-71 ขนาด 52 คาลิเบอร์

ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่าน



No comments:

Post a Comment