เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Friday, November 13, 2015

อาวุธจากประเทศญี่ปุ่น

Friday 13 คืนวันศุกร์ที่ 13 วันนี้ ก็ขอนำข่าวอาวุธแดนปลาดิบกำลังเป็นที่จับตามองกันช่วงนี้ มีกระแสข่าวลือ ข่าวซุบซิบ ว่ากองทัพไทยกำลังหมายตาอยู่ เท่าที่ได้รับทราบมาก็เห็นมีอยู่สองชิ้น คือ P-1 และ US-2

เริ่มต้นกันที่รายการแรก Kawasaki P-1


เครื่องบิน P-1 เป็นเครื่องบินลาดตระเวณตรวจการณ์ทางทะเล เข้าประจำการในกองกำลังฯ ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ..2556 เพื่อทดแทนเครื่องบินสหรัฐฯ P-3C Orion (เครื่องบิน P-3 Orion ของสหรัฐฯ ขึ้นบินครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม ..2528)

สำหรับราชนาวีไทยก็มีเครื่องบิน P-3T 3 ลำ สำหรับภารกิจต่อต้านเรือ(ผิวน้ำ)และปราบเรือดำน้ำ เครื่องบิน P-3T ของไทยที่จัดซื้อมาในปี ..2537 คือเครื่องบิน P-3A ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ที่ผ่านการดัดแปลงให้เหมาะสมกับราชนาวีไทย โดยจัดหามาจำนวน 5 ลำ แบ่งเป็นสามลำสำหรับภารกิจ และหนึ่งลำใช้สำรองเป็นอะไหล่ ส่วนลำสุดท้ายถูกนำไปใช้ทดสอบติดตั้งเครื่องยนต์ T-56-A-14 และคาดว่าลำที่ใช้ทดสอบเครื่องยนต์นี้น่าจะใช้รหัสว่า VP-3T
P-3T
ต่อมาในปี ..2546 ราชนาวีไทยได้ตัดสินใจปรับปรุงระบบเรด้าห์ของเครื่องบิน P-3T โดยเปลี่ยนเรด้าห์ APS-80 มาเป็นเรด้าห์พาณิชย์ COTS (Commercial Off The Shelf) ของ Raytheon รุ่น SeaVue แทน 
จุดนี้มีเรื่องเล่าจากทีมตรวจสอบและประเมินค่าฯ ของสหรัฐ ที่มาทำการตรวจสภาพเครื่องบิน P-3T ก่อนประเมินและทำข้อเสนอในการปรับปรุงระบบเรด้าห์ว่า ทีมงานฯ ได้บินมาตรวจสภาพเครื่องบินของราชนาวีทั้งสามลำที่อู่ตะเภา รู้สึกประหลาดใจที่สภาพของเครื่องบินทั้งสามอยู่ในสภาพที่ดีกว่าที่พวกเขาคาดคิดไว้ เพราะช่างไทยอยู่ภายใต้ความจำกัดของงบประมาณ และขีดความสามารถในการบำรุงรักษา ตลอดจนสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งไม่มีการยกเครื่องใหญ่ (overhaul) ใดๆ ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา
ปัจจุบันรับทราบมาว่า P-3T ทั้งสามลำได้ปลดประจำการทั้งหมดแล้วเนื่องจากใช้งบประมาณสูงในการซ่อมบำรุง

ดังนั้นการมองหาเครื่องบินที่จะมาทดแทนเครื่องบินฯ ทั้งสามลำ จึงเล็งไปที่เครื่องบินที่ถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน เครื่องบิน Kawasaki P-1 ของญี่ปุ่นก็เป็นเครื่องบินหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อภารกิจนี้ แต่ที่น่าจับตามองก็คือราคา เพราะในวิกิฯ แจ้งว่าตกลำละ 140.8 ล้านเหรียญ แต่ทั้งนี้จะนำไปเทียบกับราคาของเครื่องบิน P-3T ก็คงจะไม่ได้เพราะเป็นเครื่องยนต์คนละประเภทกัน รวมทั้งเทคโนโลยีของอุปกรณ์ก็ต่างยุคกัน หากจะเปรียบก็คงต้องไปเทียบกับเครื่องบิน P-8 Poseidon ของสหรัฐที่ตกลำละ 265-275 ล้านเหรียญ 

คราวนี้เราก็มาค่อยดูกันต่อไปว่าเครื่องบินสัญชาติญี่ปุ่นอย่าง Kawasaki P-1 จะมีโอกาสได้มาประจำการรับใช้ชาติไทยของเราหรือไม่


สำหรับรายการที่สอง ShinMaywa Industries Ltd US-2 ขอยกยอดไปก่อน เนื่องจากวันนี้หมดเวลาอัพเดท เพราะมีภารกิจยาวตลอดสุดสัปดาห์จนถึงต้นสัปดาห์หน้า

No comments:

Post a Comment