เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Thursday, June 9, 2016

ระบบเครือข่ายควบคุมการยิงของ SPH Kryl

วันนี้มาต่อกันจากบทความที่แล้ว SPH (self-propelled howitzer) Kryl 155mm ( ย้อนกลับไปอ่านกันได้ที่ http://monsoonphotonews.blogspot.com/2016/05/kryl.html)


Kryl ปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 มม.

บทความนี้จะมากล่าวในเรื่องระบบสนธิแบบบูรณาการของ Kryl 

กล่าวคือปืนใหญ่อัตตาจร SPH (self-propelled howitzer) Kryl 155 mm. นี้ถูกออกแบบมาเพื่อให้สั่งการและควบคุมการยิงโดยนำผลของการทำงานในชุดพิสูจน์ตรวจสอบมาใช้และนำไปใช้ควบคุมการยิงอัตโนมัติจากกองทหารปืนใหญ่จรวด WR-40 Langusta (crawfish) ที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของกองทหารปืนใหญ่จรวด WR-300 Homar (lobster) อีกชั้นหนึ่ง ทำให้มีพื้นที่ครอบคลุมการยิงทั้งระยะใกล้ไปถึงไกล
WR-40 Langusta (crawfish)
WR-300 Homar (lobster)
รถยิงจรวดขนาด 227 มม. WR-300 Homar (lobster) นี้สามารถใช้ยิงจรวดได้ทั้ง MGM-140 ATACMS ของบ. Lockheed Martin หรือ Lynx ของบ.IMI และ LORA ของบ. IAI ทั้งนี้กำลังอยู่ในระหว่างเจรจา 
จรวด 227 มม.ทั้งนำวิถีและไม่นำวิถีระยะยิง 40-140 กม. และ ATACMS ที่นำวิถีด้วย GPS มีระยะถึง 300 กม.
Kryl ใช้ระบบควบคุมการยิงที่ดัดแปลงจากระบบฯ ของโครงการ Regina ปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 มม. และปืนครกอัตตาจรขนาด 120 มม. RAK เพื่อเข้าได้กับเครือข่ายของ Crawfish และ Lobster 

ระบบควบคุมการยิง Topaz ของ Krab
ซึ่งน่าจะคือระบบ "Azalia" BMS (Battle Management System) ที่บ. Huta Stalowa Wola and WB Electronics ออกแบบร่วมกัน และระบบ "Topaz" FCS (artillery fire control system) ของบ. WB Electronics

ปืนค.ขนาด 120 มม.อัตตาจร RAK
ปืนใหญ่อัตตาจร Krab (crab)
โครงการ Regina คือการสร้างปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 155 มม. ที่โปแลนด์ใช้ป้อมปืน AS90 Braveheart ของอังกฤษที่ได้ลิขสิทธิ์ผลิตสร้างประกอบเข้ากับตัวรถ Techwin K9 ของเกาหลีใต้ โดยใช้ระบบควบคุมการยิงและระบบการสั่งปืนใหญ่อัตโนมัติของโปแลนด์ ผลที่ได้ก็คือ ปืนใหญ่อัตตาจร Krab (Crab)

ระบบฯ มี traction wheel ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสั่งการและควบคุมการยิงในทุกระดับของหน่วยบัญชาการของกองทัพ รวมไปถึงการจัดลำดับชั้นจากระดับสั่งการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการระดับต่าง จนไปสุดถึงที่ตำแหน่งผู้บัญชาการของส่วน, หน่วยและทีมต่างๆ

ระบบจะดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติของข้อมูลซึ่งรวมกับการประมวลผลคอมพิวเตอร์ของคำสั่งและการสั่งยิงเพื่อลดเวลาในการตอบสนองของการยิง


จะเห็นว่าปืนใหญ่อัตตาจร Kryl ได้ถูกออกแบบให้ระบบควบคุมการยิงสามารถเชื่่อมต่อและอยู่ภายใต้การอำนวยการรบของหน่วยยิงจรวด Homar ดังนั้นหากเมื่อสนธิกำลังอาวุธทั้งหมดจะครอบคลุมพื้นที่ตามแบบภาพดังนี้


สำหรับประเทศไทยก็จะเป็นเช่นเดียวกันกับโปแลนด์ เพราะเรามีทั้ง SR-4 122 มม., DTI-1 302 มม., DTI-1G 302 มม., DTI-2 122 มม. รวมทั้งปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 105 มม., ATMG 155 มม.(ATMOS 2000), Caesar 155 มม.
ก็คงเหลือแค่ระบบอำนวยการรบและควบคุมการยิงที่ไม่รู้ว่าคืบหน้ากันไปถึงไหนแล้ว


เพิ่มเติมสาระอันเกี่ยวเนื่องระบบอาวุธของโปแลนด์กันหน่อย คือกองทัพโปแลนด์ชี้แจ้งต่อนายกรัฐมนตรีว่าระบบอาวุธขนาดเดียวกันควรจะมีทั้งแบบสายพานและยานล้อ ดังนั้นปืนครกอัตตาจรขนาด 120 มม. RAK จึงมีทั้งแบบสายพานและยานล้อ
RAK แบบสายพานจะใช้ยาน 2S1 Gvozdika 
RAK แบบล้อจะใช้ยาน Patria

เช่นเดียวกันกับปืนใหญ่ขนาด 155 มม. มีทั้งแบบสายพานและยานล้อ นั่นคือ
Krab จากโครงการ Regina
Kryl
แต่สำหรับปืนครกอัตตาจรเห็นว่าได้ยกเลิกแบบสายพานที่ใช้ยาน 2S1 ไปแล้วยังเหลือแค่ยานล้อ Patria เท่านั้น

ส่วนปืนใหญ่อัตตาจร Krab ก็จะเข้าประจำการแทนปืนใหญ่อัตตาจรขนาด 152 มม.รุ่นเก่า
SpGH Dana หรือ VZ 77
สำหรับโครงการ Kryl นั้นตอนที่มีการชี้แจ้งถึงความจำเป็นของโครงการฯ ต่อนายกรัฐมนตรีก็มีการกล่าวอ้างถึงประเทศไทยในหนังสือรายงานด้วย


ขอขอบคุณที่ติดต่ออ่านบทความชิ้นนี้ ไว้พบกันใหม่คราวหน้า ... monsoon

No comments:

Post a Comment