เฟซบุ้คเพจ

เพิ่มเติมอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับช่องสื่อสารผ่านเฟสบุค https://www.facebook.com/monsoonphotonewspage/ ด้วยข่าวสั้นจากสำนักข่าวต่างๆ ทั่วโลก รวดเร็วทันเหตุการณ์

Sunday, September 18, 2016

เครื่องบินทดแทน บ.ล.8 (C-130H) - อัพเดท 20/9/2559

ข่าวกองทัพอากาศช่วงนี้เรื่องเด่นคงไม่พ้นการจัดหาเครื่องบินลำเลียงแบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องบินลำเลียงแบบ 8 หรือ C-130H และ C-130H-30 (รุ่นลำตัวยาว)
C-130H
เรื่องเกิดจากในวันบรรจุเข้าประจำการเครื่องบินลำเลียงแบบ 18 (SSJ 100LR) ผู้บัญชาการทหารอากาศได้ให้สัมภาษณ์สื่อ ณ กองบิน6 ดอนเมือง เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2559 ว่า กองทัพอากาศไทยกำลังมองหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีแบบใหม่เพื่อทดแทน บ.ล.8 หรือ C-130H ที่มีอายุการใช้งานมานานแล้วถึง 36 ปี

จากนั้นก็มีข่าวว่านอกจากเครื่องบินลำเลียง C-130J ของสหรัฐแล้ว ก็มองเครื่องบินลำเลียงจากชาติอื่นๆ ด้วย
C-130J ของกาตาร์
วันนี้ก็เลยนำเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ รวมทั้งที่กำลังสร้างอยู่ในปัจจุบัน มาเปรียบเทียบคร่าวๆ ว่ามีเครื่องลำใดบ้างที่น่าสนใจ โดยใช้เครื่อง บ.ล.8 เป็นเกณฑ์

อันดับแรกก็คงต้องเริ่มกันที่รายชื่อของเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางทั้งหมดที่อยู่ในวิสัย ดังนี้
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
จากเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางทั้งหมด ลองมาพิจารณากันที่น้ำหนักบรรทุกกันก่อนเลย เพราะภารกิจหลักก็คือการลำเลียง ดังนั้นน้ำหนักบรรทุกจึงน่าจะเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในอันดับต้นๆ
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
หากพิจารณาในเรื่องของน้ำหนักบรรทุกจะเห็นว่า เครื่องบินจะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ
  1. กลุ่มน้ำหนักบรรทุก 37-47 ตัน และ 
  2. กลุ่มน้ำหนักบรรทุก 18-25 ตัน 
คำถามคือกองทัพอากาศจะพิจารณาในกลุ่มใด

คราวนี้ลองพิจารณาโดยใช้พิสัยบินเป็นเกณฑ์ เพราะเห็นว่าเวลาไปฝึกซ้อมกับต่างประเทศ ต้องการเครื่องบินลำเลียงที่บินได้ไกลๆ ไม่ต้องแวะเติมน้ำมันบ่อย
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
ซึ่งถ้าพิจารณากันตามพิสัยบินแล้ว จะแบ่งกลุ่มได้เป็นสามกลุ่มคือ
  1. กลุ่มพิสัยบินไกลสุด 
  2. กลุ่มพิสัยบินปานกลาง และ
  3. กลุ่มพิสัยบินน้อยที่สุด

จากตารางเปรียบเทียบ เรามามุ่งจุดสนใจไปที่เครื่องบินสองรุ่น คือ  C-130J ของสหรัฐ และ Y-9 ของจีน เพราะเป็นที่พูดถึงกันในวงกว้างว่าน่าจะเป็นคู่แข่งที่กองทัพอากาศพิจารณา
Shaanxi Y-9
จะเห็นว่าเครื่องบิน Y-9 ของจีน มีคุณสมบัติสูงกว่า C-130J ทั้งสองด้าน ส่วนด้านความเร็วในการเดินทางก็สูสีกัน

ลองมาดูกันในปัจจัยสุดท้ายที่น่าจะมีผลในพิจารณาด้วย นั่นก็คือเรื่อง ราคา
คลิกทีภาพเพื่อขยาย
ก็คงจะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าสินค้าจีนมีจุดเด่นในเรื่องราคา ตามด้วยกลุ่มเครื่องบินของยูเครนและรัสเซีย

บทสรุป เครื่องบินลำเลียงของจีน Y-9 มีคุณลักษณะเหนือกว่าเครื่องบินลำเลียงสหรัฐฯ C-130J ในทุกปัจจัยคือ น้ำหนักบรรทุกและพิสัยบิน รวมทั้งในเรื่อง ราคา

จากปัจจัยทั้งหมดที่กล่าวมา ดูเหมือนเครื่องบินจีนน่าจะเป็นผู้ได้รับพิจารณา แต่หากดูจากประวัติศาสตร์การจัดซื้อของกองทัพอากาศแล้ว ทอ.ไม่เคยซื้อเครื่องบินจากประเทศจีนเลยนับตั้งแต่คราวที่จีนได้นำเครื่องบิน F-7M มาเสนอขายต่อกองทัพอากาศไทยเมื่อปีพ.ศ.2532
F-7M ของจีนที่ดอนเมือง วันที่ 22 มีนาคม 2532
(ภาพจาก บ.ก.สมพงษ์)
ด้วยเหตุนี้ เครื่องบินจากสหรัฐฯ C-130J ก็ยังมีโอกาสได้รับพิจารณา ถ้าหาก ทอ.ยังยึดถือปฏิบัติตามธรรมเนียมเดิม

ยังไงก็รอดูว่าเครื่องบินลำเลียงรุ่นใดจะเป็นลำที่อยู่ในใจของกองทัพอากาศ
Airbus A400M

Antonov An-178

Antonov An-70

Kavasaki C-2

UAC/HAL IL-214

Embraer KC-390

********************************

อัพเดทวันอังคารที่ 20 ก.ย.2559

มีการปล่อยข่าวกันออกมาอีกว่า ทอ.ก็มองเครื่องบินยูเครน An-70 ไว้ด้วยเหมือนกัน ก็เลยต้องโหนกระแสกับเขาไปด้วย

ตารางเปรียบเทียบเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางสามลำที่อยู่ในกระแสตอนนี้ เริ่มกันที่น้ำหนักบรรทุกกันก่อนเลย
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
ถ้าเรื่องน้ำหนักบรรทุกนี้เครื่องบิน An-70 ของยูเครนชนะ กินขาดทิ้งห่างคู่แข่งอีกสองลำถึงหนึ่งช่วงตัว อาจจะเป็นเพราะเครื่องบิน An-70 น่าจะจัดเป็นเครื่องบินลำเลียงขนาดหนักเพราะน้ำหนักบรรทุกพอๆ กับเครื่องบิน Ilyushin IL-76MD 
IL-76MD
ต่อไปก็ลองไปดูเรื่องพิสัยบิน 
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
เรื่องพิสัยบินต้องยกให้เครื่องบิน Y-9 ของจีน ส่วนเครื่องบิน An-70 ของยูเครนก็ไม่ขี้เหร่สักเท่าไรแต่ก็ชนะเครื่องบินจีนในเรื่องความเร็วในการเดินทาง นับว่ามีดีกันคนละอย่างถือว่าเสมอกันไป ลองไปดูปัจจัยสุดท้ายเรื่องราคา
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย
เรื่องนี้ไม่มีใครสู้จีนได้แน่นอน เครื่องบิน Y-9 ของจีนชนะลอยลำ สำหรับเครื่องบิน C-130J ของสหรัฐสู้เครื่องบินของจีนและยูเครนไม่ได้เลยในทุกปัจจัย

ลองมาสรุปเครื่องบินลำเลียงทั้งสามแบบคือ An-70, C-130J และ Y-9 กันโดยให้คะแนน
  • เครื่องบินอันดับหนึ่งในแต่ละปัจจัย - สามแต้ม
  • เครื่องบินอันดับหนึ่งในแต่ละปัจจัย - สองแต้ม
  • เครื่องบินอันดับหนึ่งในแต่ละปัจจัย - หนึ่งแต้ม
  • กรณีเสมอกันในแต่ละปัจจัย - หนึ่งแต้มครึ่ง

จากคะแนนเต็ม 9 แต้ม ผลที่ได้คือ
  1. เครื่องบิน An-70 ของยูเครนได้ 6.5 แต้ม
  2. เครื่องบิน Y-70 ของจีนได้ 6.5 แต้ม
  3. เครื่องบิน ฉ-130J ของสหรัฐได้ 3 แต้ม

ถ้าไม่คำนึงถึงตัวแปรเรื่องราคาแล้วเครื่องบิน An-70 ของยูเครน นับว่าเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมเนื่องจากตอบโจทย์ของกองทัพอากาศได้ครบทั้งในแง่ของน้ำหนักบรรทุกและพิสัยบิน แถมท้ายด้วยความเร็วระหว่างเดินทาง แต่ก็มีเรื่องที่อาจจะเป็นอุปสรรคนั่นคือ ประสิทธิภาพของเครืองบิน และ การตรงกำหนดในการส่งมอบ

ทั้งนี้เพราะเครื่องบิน Antonov An-70 ยังไม่มีการผลิตออกมาแต่อย่างใด นอกจากนี้เครื่องบินต้นแบบทั้งสองลำก็ตกระหว่างการทดสอบบิน แม้ว่าเครื่องบินต้นแบบลำแรกจะตกเนื่องจากความผิดพลาดของคน แต่เครื่องต้นแบบลำที่สองก็ตกเพราะสูญเสียกำลังจากสองเครื่องยนต์ขณะทำการขึ้นบินในการทดสอบบินในสภาพหนาวเย็น

แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือโครงการนี้ขาดเงินทุนสนับสนุน ดังนั้นหากกองทัพอากาศพิจารณาเลือกซื้อเครื่องบิน An-70 ก็อาจจะเป็นแบบเดียวกับรถถัง T-84 Oplot ของกองทัพบกที่ส่งมอบล่าช้า

อย่างไรก็ตามเครื่องบิน An-70 ของยูเครนก็นับว่าเครื่องบินที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง เพราะเป็นเครื่องบินที่อยู่ตรงการระหว่างคุณภาพและราคา



No comments:

Post a Comment